
‘ขยะพลาสติก’ ที่ไร้ค่าและเป็นต้นตอปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ หรือ Climate Change และปัจจุบันโลกก็ยังไม่มีทางออกอย่างเป็นรูปธรรมว่า เราควรจะแก้ปัญหาพลาสติกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
แม้วันนี้ขยะพลาสติกส่วนใหญ่ กลายเป็นของมีค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่ในระบบ circular economy
ด้วยพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยทำให้ขยะพลาสติกมีปริมาณสูงถึงปีละ 2 ล้านตัน (ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) แม้จะมีการรณรงค์จากภาครัฐและภาคเอกชนสนับสนุนให้มีการ ‘แยกขยะ’ ก่อนทิ้ง ทว่าในทางปฏิบัติ ทั้ง 2 วิธีการอาจไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวได้ เพราะปัญหาพลาสติกต้องแก้ที่ต้นทางและการรีไซเคิลให้กลับมาใช้ใหม่
นายพงษ์ศักดิ์ จึงรุ่งเรืองวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป จำกัด หรือ TPR ให้สัมภาษณ์กับไทยพับลิก้าว่า บริษัทดำเนินธุรกิจบนแนวคิดของ BCG Model (Bio, Circualr, Green)โดยเฉพาะในมิติของตัว C คือ Circular Economy ด้วยการหมุนเวียนวัสดุที่มีอยู่แล้วมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยต่อยอดจาก ‘ขยะพลาสติก’ เป็น ‘เม็ดพลาสติก’ ได้ประโยชน์ทั้งธุรกิจและสังคม-สิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือช่วยลดความรุนแรงของวิกฤติสิ่งแวดล้อมโลกอย่าง climate change